วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

Diy

DIY ย่อมาจาก Do it yourself หรือก็คือ “ทำด้วยตัวคุณเอง” ในวันนี้เราจะมาแนะนำไอเดียเก๋ ๆ สำหรับการแปรรูปอุปกรณ์สำนักงานเหลือใช้มาเป็นอุปกรณ์เสนิมคู่ใจ Smart Phone ของเรา โดยไม่ต้องเสียสตางค์แม้แต่แดงเดียวกันครับ (เผื่อใครจะเป็นไอเดียในการต่อยอดไปอีก)
DIY Form Office Junk (1)

DIY Form Office Junk (2)DIY Form Office Junk (3)

แกนทิชชู่ + แก้วพลาสติก = ลำโพงไอโฟน

อุปกรณ์ไม่มีอะไรมากเพียงแค่คัตเตอร์หรือกรรไกรในการตัด ด้วยการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดแล้วว่ามันสามารถเพิ่มมิติและความดังของเสียงได้จริง
DIY Form Office Junk (4)

แก้วพลาสติก = ลำโพงไอโฟน

วิธีนี้คล้ายกับด้านบนแต่ง่ายกว่าหน่อย เพียงแค่หย่อนไอโฟนลงไปก็จะสามารถเพิ่มพลังเสียงให้ได้ เนื่องจากเป็นการบังคับทิศทางของเสียงให้มาเป็นแนวเดียวกัน
DIY Form Office Junk (5)DIY Form Office Junk (6)DIY Form Office Junk (7)DIY Form Office Junk (8)

ลวดหนีบกระดาษ + สก็อตเทป = ลูกกลิ้งทำความสะอาดแจ็คหูฟัง

บ่อยครั้งที่ใช้งานไปนาน ๆ แล้วรูปสึกเสียงติด ๆ ขัด ๆ หรือหายไปเป็นจังหวะอาจเป็นเพราะมีฝุ่นอุดตันบริเวณแจ็คหูฟังมากเกินไป เพียงแค่ง่าย ๆ ด้วยการพันสก๊อตเทปกับลวดหนีบกระดาษ (เอาด้านกาวไว้ข้างนอก) กลิ้งไปไม่กี่ทีก็สามารถทำความสะอาดได้แล้ว
DIY Form Office Junk (9)

คลิปหนีบกระดาษ + นามบัตร (ใครซักคน) = ขาตั้งไอโฟน

จะถ่ายวีดีโอแต่ไม่มีขาตั้งไอโฟน? ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป !!!
DIY Form Office Junk (10)DIY Form Office Junk (11)

คลิปหนีบกระดาษ = ที่พันหูฟัง

ใครเล่าจะเชื่อแต่มันสามารถเก็บหูฟังได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว
DIY Form Office Junk (12)DIY Form Office Junk (13)DIY Form Office Junk (14)

คลิปหนีบกระดาษ = ที่เก็บสารพัดสาย

ด้วยความโค้งเว้าของที่จับใครเล่าจะเชื่อว่ามันสามารถล็อคสารพัดสายได้จริง ๆ ทีนี้ก็ไม่ต้องก้มเงยอีกต่อไปสะดวกจัง
DIY Form Office Junk (15)DIY Form Office Junk (16)DIY Form Office Junk (17)DIY Form Office Junk (18)DIY Form Office Junk (19)

ลวดหนีบกระดาษ = ขาตั้งไอโฟน

บิดนิดใช้ฝีมือหน่อยก็สามารถเปลี่ยนเป็นขาตั้งไอโฟนสำหรับดูหนังในเวลางานได้แล้ว !!! (อย่าให้เจ้านายคุณเห็นล่ะ)
DIY Form Office Junk (20)

แกนทิชชู่ + กล่อง = กล่องเก็บสารพัดสาย

เป็นระเบียบและสายไม่พันกันอีกต่อไป ด้วยไอเดียง่าย ๆ แค่นี้ก็ช่วยแก้ไขปัญหา (ใหญ่) ให้กับชีวิตเราได้แล้ว
DIY Form Office Junk (21)

สปริงปากกา = ตัวป้องกันสาย Sync หัก

ใคร ๆ ก็บ่นว่าสายไอโฟนหักและเปื่อยง่ายโดยเฉพาะข้อต่อของมัน เพียงแค่หาปากกาหมึกหมดซักด้ามและเอาสปริงออกมาเพื่อพันรอบกับสาย Sync จากนั้นยึดมันด้วยกาวหรือสก็อตเทปใส เพียงเท่านี้สาย Sync ก็จะอยู่กับเราไปนานแสนนานโดยไม่ต้องพึ่งเม็ดบีทให้เสียสตางค์
DIY Form Office Junk (22)

หน้าจอไอโฟน = ไม้บรรทัด

วิธีนี้ไม่ค่อยเก๋เท่าไหร่แต่ก็พอใช้แก้ขัดได้ (จริง ๆ มันมีเป็นแอปฯ ด้วยนะ … ลองหามาใช้ดู) ถ่ายรูปไม้บรรทัดแล้วกะระยะให้ดี ๆ เพื่อใช้เป็นสเกลในการวัดขนาดแบบหยาบ ๆ ก็พอได้อยู่
DIY Form Office Junk (23)

หน้าจอแมค = แม่เหล็กเก็บหูฟัง

อันนี้บอกตามตรงว่าผมก็พึ่งทราบ (ฮา) เห็นว่าไอเดียนี้ใช้กับ iMac ได้ด้วย (เพื่อนผมเอาลวดหนีบกระดาษไปแปะบ่อย)
DIY Form Office Junk (24)

แผ่นโน๊ตกันลืม = อุปกรณ์ทำความสะอาดคีย์บอร์ด

หันด้านที่เป็นกาวออกไปจากนั้นก็ทำการถูเลยครับ ใช้งานดึงฝุ่นได้ดีเลยทีเดียว
DIY Form Office Junk (25)

ลังไข่ = อุปกรณ์ระบายความร้อนโน๊ตบุ๊ค

น่าจะใช้งานได้ดีเลยทีเดียวสำหรับคนที่ต้องเปิดเครื่องไว้นาน ๆ เพราะอากาศค่อนข้างจะถ่ายเทได้ง่ายกว่าพื้นโต๊ะเรียบ ๆ
DIY Form Office Junk (26)

ตะขอเกี่ยวผ้าสามชิ้น = แท่นยึดไอแพดกับผนัง

ไอเดียนี้ใช้ติดห้องน้ำก็ดีนะผมว่า หรือใช้ติดผนังแทนจอโทรทัศน์ไปเลย (จอเล็กไปมั้ย – -*)
DIY Form Office Junk (27)

เขียงรองตัด = แท่นวางไอแพด

ดูไว้เป็นแนวทางแต่เมืองไทยน่าจะหาอุปกรณ์นี้ยากหน่อย
DIY Form Office Junk (28)DIY Form Office Junk (29)DIY Form Office Junk (30)DIY Form Office Junk (31)

เทปสติกเกอร์ = อุปกรณ์ตกแต่ง

ที่เหลือก็แล้วแต่จินตนาการของคุณแล้วล่ะ !!!
DIY Form Office Junk (32)DIY Form Office Junk (33)

เทปสติ๊กเกอร์ = กันรอยฝาหลังไอโฟน

ไอเดียใช้ได้ครับ แต่เหมือนไปซื้อเขาเอาน่าจะง่ายกว่านี้ (ราคาที่ไทยกันรอยฝาหลังหาง่ายและไม่ค่อยแพงมาก) แต่ถ้าใครชอบ DIY ก็ลองทำดู
DIY Form Office Junk (1)

ยาทาเล็บ = อุปกรณ์ตกแต่ง

ค่อย ๆ ทาก็น่าจะสวยอยู่ ส่วนล้างออกก็ไม่ยากด้วยน้ำยาล้างเล็บซึ่งผู้หญิงก็น่าจะมีคู่กันอยู่แล้ว
DIY Form Office Junk (34)

แผ่นล็อคถุงขนมปัง = ป้ายบอกปลั๊กไฟ

หลายครั้งที่เราก็ไม่รู้ว่าปลั๊กไหนเป็นปลั๊กไหน อุปกรณ์นี้ช่วยได้ครับ ใครทานขนมปังหมดก็อย่างลืมเก็บเอาไว้ล่ะ
DIY Form Office Junk (35)DIY Form Office Junk (36)

เทปสติ๊กเกอร์ = ป้ายบอกปลั๊กไฟ

ไอเดียนี้ก็คล้าย ๆ กับด้านบนแต่ดูง่ายและน่ารักขึ้นมาหน่อย

เพลง 9 ล้านหยดน้ำตา

แฟนเก่าหนูชอบเพลงนี้ หนูเลยชอบค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การเขียนเรียงความที่ดี

    การเขียนเรียงความเป็นพื้นฐานของการเขียนที่สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนนิยาย หรือการเขียนบันทึกต่างๆ ต่างก็ใช้หลักการของการเขียนเรียงความ ซึ่งเป็นศิลปะการเขียนร้อยแก้วอย่างหนึ่งที่ต้องมีหลักการและวิธีเขียนเพื่อให้เรียงความที่เขียนนั้นมีความสละสลวยของภาษาและน่าอ่าน
    วิธีการเขียนเรียงความที่ดีนั้น การเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมานั้นควรจะทำการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนให้ดี เพื่อให้บทความนั้นถูกต้องตามหลักของข้อเท็จจริง ส่วนของเนื้อเรื่องควรมีความสอดคล้องเป็นเอกภาพเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในแต่ละย่อหน้า ตั้งแต่ คำนำ เนื้อเรื่อง จนกระทั่งการปิดเรื่องด้วยบทสรุป ซึ่งทั้งสามส่วนล้วนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเรียงความที่ขาดไม่ได้    
    1.คำนำ เป็นส่วนเริ่มต้นของเรียงความที่ต้องเริ่มเขียน ซึ่งเป็นการเกริ่นเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นเรียงความเกี่ยวกับเรื่องใด ในส่วนนี้ไม่ควรเขียนให้ลึกมาก แต่ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆในเรื่องนั้นๆก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่องอีกที
    2.เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของเรียงความ เป็นการเขียนเจาะลึกลงไปในเนื้อหา เป็นส่วนที่ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลมาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องเขียนข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นเรื่องจริง และนำมาเรียบเรียงอธิบายตามความคิดอ่านของผู้เขียน ดังนั้นจึงต้องเขียนอย่างละเอียดและมีการจัดลำดับย่อหน้าให้เนื้อหามีความสอดคล้องและชัดเจนถูกต้อง เพื่อการเขียนที่ไม่สับสนหรือเกิดการวกไปวนมา สามารถสื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้
    3.บทสรุป เป็นส่วนของการปิดเรื่อง หรือสรุปเนื้อหาตั้งแต่คำนำและเนื้อเรื่อง เป็นการบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว การเขียนบทสรุปที่ดีนั้นควรเขียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ผ่านมา ไม่นอกเรื่อง ควรเขียนให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ ซึ่งมีวิธีเขียนอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การเขียนบทสรุปด้วยการตั้งคำถามให้ผู้อ่านเกิดการฉุกคิด หรือการเขียนด้วยการแสดงความเห็นของตนเองต่อเนื้อเรื่อง ร่วมไปถึงการเขียนโน้มน้าวอารมณ์ของผู้อ่านให้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหา และพยายามอย่าให้สรุปเกิดความยืดเยื้อจนผู้อ่านรู้สึกว่าเรียงความของเรายังเขียนไม่เสร็จ
    การเขียนเรียงความ ที่ดีนั้นมีหลักการง่ายๆดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่กระนั้นผู้เขียนเรียงความเองก็ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ ช่วยให้ภาษาหรือลีลาทางวรรณศิลป์ของตนเองนั้นสวยงามขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามเนื้อเรื่อง และรู้สึกถึงการอ่านที่ไหลลื่นไม่ติดขัดจากภาษาที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างเรียงความ