วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การเขียนเรียงความที่ดี

    การเขียนเรียงความเป็นพื้นฐานของการเขียนที่สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนนิยาย หรือการเขียนบันทึกต่างๆ ต่างก็ใช้หลักการของการเขียนเรียงความ ซึ่งเป็นศิลปะการเขียนร้อยแก้วอย่างหนึ่งที่ต้องมีหลักการและวิธีเขียนเพื่อให้เรียงความที่เขียนนั้นมีความสละสลวยของภาษาและน่าอ่าน
    วิธีการเขียนเรียงความที่ดีนั้น การเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมานั้นควรจะทำการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนให้ดี เพื่อให้บทความนั้นถูกต้องตามหลักของข้อเท็จจริง ส่วนของเนื้อเรื่องควรมีความสอดคล้องเป็นเอกภาพเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในแต่ละย่อหน้า ตั้งแต่ คำนำ เนื้อเรื่อง จนกระทั่งการปิดเรื่องด้วยบทสรุป ซึ่งทั้งสามส่วนล้วนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเรียงความที่ขาดไม่ได้    
    1.คำนำ เป็นส่วนเริ่มต้นของเรียงความที่ต้องเริ่มเขียน ซึ่งเป็นการเกริ่นเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นเรียงความเกี่ยวกับเรื่องใด ในส่วนนี้ไม่ควรเขียนให้ลึกมาก แต่ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆในเรื่องนั้นๆก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่องอีกที
    2.เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของเรียงความ เป็นการเขียนเจาะลึกลงไปในเนื้อหา เป็นส่วนที่ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลมาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องเขียนข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นเรื่องจริง และนำมาเรียบเรียงอธิบายตามความคิดอ่านของผู้เขียน ดังนั้นจึงต้องเขียนอย่างละเอียดและมีการจัดลำดับย่อหน้าให้เนื้อหามีความสอดคล้องและชัดเจนถูกต้อง เพื่อการเขียนที่ไม่สับสนหรือเกิดการวกไปวนมา สามารถสื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้
    3.บทสรุป เป็นส่วนของการปิดเรื่อง หรือสรุปเนื้อหาตั้งแต่คำนำและเนื้อเรื่อง เป็นการบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว การเขียนบทสรุปที่ดีนั้นควรเขียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ผ่านมา ไม่นอกเรื่อง ควรเขียนให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ ซึ่งมีวิธีเขียนอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การเขียนบทสรุปด้วยการตั้งคำถามให้ผู้อ่านเกิดการฉุกคิด หรือการเขียนด้วยการแสดงความเห็นของตนเองต่อเนื้อเรื่อง ร่วมไปถึงการเขียนโน้มน้าวอารมณ์ของผู้อ่านให้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหา และพยายามอย่าให้สรุปเกิดความยืดเยื้อจนผู้อ่านรู้สึกว่าเรียงความของเรายังเขียนไม่เสร็จ
    การเขียนเรียงความ ที่ดีนั้นมีหลักการง่ายๆดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่กระนั้นผู้เขียนเรียงความเองก็ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ ช่วยให้ภาษาหรือลีลาทางวรรณศิลป์ของตนเองนั้นสวยงามขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามเนื้อเรื่อง และรู้สึกถึงการอ่านที่ไหลลื่นไม่ติดขัดจากภาษาที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างเรียงความ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น